วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วางเครื่องยนต์ JZ

ในการวางเครื่องยนต์ 1JZ ควรหาอู่ที่พร้อมในการทำทุกอย่าง ฉนั้นมาดูกันว่าเวลาที่จะวางเครื่อง อู่ควรจะต้องทำอะไรให้เราบ้าง

- วางเครื่อง+ทำแท่นเครื่อง+แท่นเกียร์
- ตัดต่อ+ถ่วงเพลากลาง
- Wiring ระบบไฟ รวมถึงหน้าปัทม์ และแป้นเกียร์ทั้งหมด
- ระบบระบายความร้อน พวกพัดลม หม้อน้ำ ท่อน้ำ
- ระบบเบรค หม้อลม ดิสค์
- ระบบไอเสีย ท่อไอเสีย หม้อพัก
- กรองอากาศ กรองเปลือยต่างๆ
- ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปั๊มติ๊ก
- ระบบปรับอากาศ
- ถ้าเป็นรถเทอร์โบ ก็จะมีเรื่อง อินเตอร์คูลเลอร์ และท่ออินเตอร์
- สายพานต่างๆ ถ้าหมดสภาพก็ควรเปลี่ยนใหม่ซะเลย
- ระบบของเหลวทั้งหมด น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย

ในเบื้องต้นของการตกลงกัน อู่ที่วางเครื่องควรจะทำครอบคลุมสิ่งต่างๆที่กล่าวมา นี้ให้เกือบทั้งหมด
ส่วนที่เหลือนอกจากนี้ ที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมก็แล้วแต่ตกลง กันอีกที เช่น
- เปลี่ยนเฟืองท้าย
- เปลี่ยนชุดเบรก ล้อ ดุม ดิสค์
- ท่ออินเตอร์อลูมิเนียมดัดทราย
- ท่อไอเสีย หม้อพักแสตนเลส
- ปัดเงา + ชุบโครเมี่ยมชิ้นส่วนต่างๆ

ถ้าทุกอย่างพร้อมทำในที่เดียวกัน มันก็สะดวก โดยไม่ต้องย้ายไปเก็บงานที่อื่นอีก เรียกว่า One Stop Service

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Oxygen Sensor


เซนเซอร์อีกตัวหนึ่งของเครื่องยนต์ 1JZ GTE คือ Oxygen Sensor หรือ Lambda Sensor (เซนเซอร์ตรวจจับปริมาณออกซิเจนในก๊าซไอเสีย) มีรูปทรงคล้ายกับหัวเทียน ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในก๊าซไอเสียแล้วส่งสัญญาณกลับไปให้ ECU เพื่อให้ ECU รู้สภาวะอัตราส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ ( Air / Fuel Ratio ) ว่าหนาหรือบางเกินไปหรือไม่ เพื่อควบคุมอัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม และทำให้แคตตาไลท์ติคคอนเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ในขณะที่ส่วนผสมบาง ปริมาณออกซิเจนในไอเสียจะมีมาก ตัวออกซิเจนเซนเซอร์จะส่งแรงดันไฟฟ้าต่ำไปให้ ECU ในขณะที่ส่วนผสมหนา ปริมาณออกซิเจนในก๊าซไอเสียจะมีค่าน้อย ตัวออกซิเจนเซนเซอร์จะส่งแรงดันไฟฟ้าสูงไปให้ ECU ตัว Oxygen Sensor ถูกติดตั้งไว้ที่ท่อร่วมไอเสีย

Oxygen Sensor แบ่งเป็นสองแบบคือ
1.แบบเซอร์โคเนีย (Zirconia Type)
2.แบบไททาเนีย (Titania Type)

ระบบ ECU จะทำงานโดยไม่คำนึงถึงสัญญาณที่ส่งจากออกซิเจนเซนเซอร์ในสภาวะแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. เมื่อออกซิเจนเซนเซอร์เสีย
2. เมื่ออุณหภูมิในน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 66’C
3. เมื่ออุณหภูมิออกซิเจนเซนเซอร์ต่ำกว่า 343’C
4.เมื่อสุญญากาศในท่อร่วมไอดีมีค่าใกล้เคียงกับความดันบรรยากาศ
5.สตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะเครื่องยนต์ร้อน

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Ground Wire


สายดิน (Ground Wire) ในรถยนต์นั้น ปกติแล้วจะมีมาให้แล้วจากโรงงานที่ผลิตรถยนต์ แต่ในบางครั้งระบบไฟอาจไหลเวียนไม่ดี เนื่องจากมีการเพิ่มเติมระบบไฟอย่างอื่นขึ้นอีกเช่นเครื่องเสียง เป็นต้น และเครื่องยนต์ 1JZ จำเป็นต้องเดิน Ground เพิ่มเพื่อให้ระบบไฟดีขึ้น

จุดสำคัญที่ต้องเดิน Ground เพิ่มให้เครื่องยนต์ 1JZ มีดังนี้
1. ท่อไอดี (Intake Manifold)
2. ตัวถังเครื่องยนต์ (Engine Block)
3. ระบบไฟหน้าทั้งหมด (Head Lamp)
4. ฝาวาล์ว (Cylinder Head)
5. ไดชาร์จ (Alternator)
6. เกียร์ (Transmission)


ประโยชน์ของ Ground Wire ที่ดีจะช่วยให้
- ลดกระแสไฟฟ้าสถิตภายในตัวถังรถ
- ระบบไฟฟ้าเดินได้เต็ม 100%
- ลากรอบเกียร์ได้ยาวกว่าเดิม
- คุณภาพเสียงของเครื่องเสียงดีขึ้น
- ประหยัดน้ำมัน
- ช่วยระบบแอร์และคอมแอร์ทำงานดีขึ้น
- ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆภายในรถ
- ติดตั้งได้กับรถทุกชนิดทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์ออโตเมติก

คุณสมบัติของสายที่นำมาทำ Ground Wire นั้น ต้องมีความต้านทานต่ำถึงจึงจะเป็นตัวนำที่ดีที่สูด โดยที่เงินเป็นตัวนำที่ดีที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กฏหมายท่อไอเสียรถยนต์


เครื่องยนต์ 1JZ ที่นำมาวางใน Body รถยนต์บ้านเรานั้น ส่วนมากจะมีการ Modify ท่อไอเสียกันทั้งนั้น เพื่อให้ได้แรงม้าสูงสุด ดังนั้นการ Modify ท่อไอเสียเครื่องยนต์ 1JZ จะมีขนาดท่อที่ใหญ่กว่าปกติและจะมีเสียงดังเป็นส่วนมาก ฉนั้นจึงเป็นที่น่าจับตามองของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฏหมาย

เครื่องยนต์ 1JZ GTE โดยหลักการแล้วขนาดท่อจะใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว ก็ยังไม่ผิดกฏหมายเพียงแต่ว่าด้านปลายท่อจะต้องออกทางด้านหลังของรถเท่านั้น ห้ามออกด้านข้างของตัวถังรถ อันนี้ผิดแน่นอน (โดยมีข้อยกเว้นสำหรับรถพ่วงขนาดใหญ่หรือรถโดยสารบางชนิดเท่านั้น) ส่วนในเรื่องของเสียงดังนั้น ตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดเสียงต้องไม่เกิน 90 db. ที่รอบเครื่องเศษ3ส่วน4ของแรงม้าสูงสุด สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลวัดที่รอบสูงสุด (หากเจอด่านตรวจต้องใช้เครื่องมือวัดเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่ฟังเสียงด้วยหูแล้วเอามาเป็นเกณฑ์ตรวจวัดไม่ได้)

สรุปหากเจอด่านตรวจ ก็ให้คำนึกว่าเราเป็นรถยนต์ดัดแปลงสภาพ ย่อมมีจุดที่ผิดกฏหมายอยู่มากมายแน่นอน จึงต้องหาทางพูดจาดีๆ เอาไว้ก่อน จะได้ผ่านด่านไปอย่างราบรื่น

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Turbo Timer

เครื่องยนต์ 1JZ GTE โดยส่วนมากแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องติดอุปกรณ์ Turbo Timer เข้าไปด้วย เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะตัวเทอร์โบ ซึ่งจะมีความร้อนสูงมากในขณะที่ทำงานรอบจัด

หน้าที่หลักของ Turbo Timer คือเป็นตัวนับเวลาถอยหลัง ตามเวลาที่เรากำหนดไว้หรือตามเวลา Auto ที่ตัวมันเองกำหนดเวลาขึ้นมาตามความร้อนของเครื่องยนต์ เมื่อเราปิดสวิทช์กุญแจ Turbo Timer จะเริ่มทำงานเพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ดับในทันที ที่เราปิดสวิทช์กุญแจ

เครื่องยนต์ 1JZ GTE ที่มีเทอร์โบ หากวิ่งมาด้วยความเร็วสูงหรือวิ่งติดต่อกันเป็นเวลาต่อเนื่องนานๆ จะเกิดความร้อนสะสมมากแน่นอน ถ้าเราดับเครื่องยนต์ทันที ปั๊มน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ต่างๆ ก็จะหยุดไปด้วย นั่นหมายความว่าเครื่องยนต์และตัวเทอร์โบยังไม่ได้ระบายความร้อนลงมาเลย โดยเฉพาะแกนเทอร์โบ ที่ยังหมุนอยู่แต่ไม่มีน้ำมันมาหล่อลื่นแล้วเนื่องจากปั๊มหยุดทำงาน ก็จะเกิดความเสียหายกับแกนเทอร์โบได้ คราบน้ำมันบางส่วนจะจับที่แกนเทอร์โบจนแห้งเป็นคราบเกาะติดอยู่เนื่องจากความร้อน เมื่อมีการใช้งานครั้งต่อไปก็ทำให้แกนสึกหรอได้ นั้นคือเกิดอาการที่เขาเรียกว่าควันไหลคือมีควันออกจากท่อสีขาวๆ เยอะๆนั้นเอง

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทอร์โบ

เทอร์โบ (Turbo) เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งของเครื่องยนต์ ซึ่งถ้ารถยนต์คันไหนติดเทอร์โบ นั้นหมายความว่ารถยนต์คันนั้นต้องแรง อย่างเช่น เครื่องยนต์ 1JZ GTE ที่มีความแรงอยู่ในตัว จนนักซิ่งบ้านเรานิยมชมชอบกันอย่างล้นหลาม

เทอร์โบ คือ อุปกรณ์อัดอากาศชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่อัดไอดีเข้ากระบอกสูบ ด้วยแรงดันและมวลของอากาศที่มากกว่าแรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบของ เครื่องยนต์ปกติ
เครื่องยนต์ที่ติดเทอร์โบ ช่วยอัดอากาศตั้แงต่รอบเครื่องยนต์หมุนปากกลางขึ้นไป จะมีประสิทธิภาพในการประจุไอดีได้สูงในช่วงรอบเครื่องยนต์ที่กว้างกว่า เนื่องจากการอัดไอดีด้วยแรงดันอย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่แรงดูดจากการเลื่อนลง ของลูกสูบ มวลอากาศที่ถูกอัดเข้าไปในกระบอกสูบจึงมีความหนาแน่นมากกว่าปกติ

เทอร์โบ ประกอบด้วยชุด เทอร์ไบน์ (กังหันไอเสีย) และคอมเพรสเซอร์ (กังหันไอดี) มีลักษณะคล้ายกังหัน 2 ตัว ติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกัน ฟากละตัว หันหลังเข้าหากัน หมุนไปพร้อมกันตลอด ไม่มีระบบอากาศเชื่อมกัน และมีระบบหล่อลื่นช่วงกลางแกนกังหันด้วยน้ำมันหล่อลื่นที่ไหลเวียนจากปั๊ม เครื่องยนต์

ชุดกังหันไอดี และกังหันไอเสีย จะหมุนไปพร้อมกัน โดยที่ชุดโข่งและกังหันไอเสีย ได้ติดตั้งอยู่กับท่อไอเสีย กังหันไอเสียจะหมุนด้วยการไหลและการขยายตัวของไอเสียที่ถูกส่งเข้ามา กลายเป็นต้นกำลังในการหมุนของแกนเทอร์โบ ต่อจากนั้นไอเสียก็จะถูกระบายทิ้งไปตามปกติทางท่อไอเสียไปยังด้านท้ายของรถยนต์ความเร็วในการหมุนของกังหันไอเสีย ผกผันอยู่กับความร้อนและปริมาณไอเสียทั้งหมดที่ถูกส่งเข้ามา

การทำงานของเทอร์โบ ไม่ใช่เป็นความเข้าใจผิด ๆ ของบางคนว่า เทอร์โบ เป็นการใช้ไอเสียกลับเข้าสู่เครื่องยนต์ ซึ่งไม่มีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น เพราะไอเสียร้อนและแทบไม่มีออกซิเจนที่ช่วยในการเผาไหม้อยู่เลย เมื่อกังหันไอเสียหมุนด้วยกำลังจากไอเสีย กังหันไอดีที่ติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกันอีกฟากหนึ่ง จะหมุนดูดอากาศแล้วอัดเข้าสู่กระบอกสูบผ่านท่อไอดีด้วยแรงดันที่เรียกว่า แรงดันเสริม (BOOST PRESSURE)แรงดันที่สูงกว่าบรรยากาศปกติ

เทอร์โบ สามารถสร้างแรงดันเสริมให้สูงขึ้นได้หลายระดับ ตามการออกแบบหรือตามการควบคุม แต่ถ้าใช้แรงดันสูงเกินไป ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์อาจเสียหายได้ แม้กังหันไอเสีย และกังหันไอดีจะหมุนทำงานต่อเนื่องบนแกนเดียวกันแต่ทั้ง 2 กังหันมิได้มีอากาศหมุนเวียนต่อเนื่องกันเลย ไอเสีย เมื่อมาหมุนกังหันไอเสีย และก็ปล่อยทิ้งออกไป ส่วนกังหันไอดีมีต้นกำลังจากการหมุนของกังหันไอเสีย ก็ดูดอากาศบริสุทธิ์จากข้างนอกเข้ามา


ส่วนเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่มีการติดตั้งเทอร์โบ หากเจ้าของต้องการติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไป ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมที่ดี และช่างต้องมีความเชี่ยวชาญ โดยจะต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์หรือไม่ ต้องดูกันเป็นกรณี ๆ ไป

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มิเตอร์วัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง

หลังจากที่ได้ทำการติดตั้งชุดเพิ่มแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง (ถัง A) ให้กับเครื่องยนต์ 1JZ GTE ไปแล้วนั้น เมื่อเพิ่มแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีตัว มิเตอร์วัดแรงดันน้ำมันเชิ้อเพลิง (Fuel Pressure Meter) ไว้ตรวจสอบว่าแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง นั้นได้ตามต้องการหรือไม่

มิเตอร์วัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Pressure Meter) นั้น หน้าที่หลักคือไว้ตรวจสอบปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงและหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ว่าทำงานปกติหรือไม่ โดยปกติในรอบเดินเบาจะวัดได้ประมาณ 3 บาร์ หากว่าเราได้เหยียบคันเร่งหรือเพิ่มกำลังอัด (Boost) ค่าแรงดันจะต้องเพิ่มขึ้นมาด้วยตามอัตราส่วน หากแรงดันไม่มีการเพิ่มหรือเข็มชี้บอกค่า สวิงไม่คงที่ แสดงว่าชุดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีปัญหาอย่างแน่นอน จำเป็นจะต้องมีการปรับปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดน้ำมัน ที่แรงขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของเครื่องยนต์ในขณะนั้น สำหรับเครื่องยนต์ 1JZ ที่มีเทอร์โบ มีความจำเป็นมากหากเครื่องยนต์มีการสดุดขณะที่เครื่องยนต์บูสต์นั้น มิเตอร์วัดแรงดันน้ำมันเชิ้อเพลิงตัวนี้ ก็สามารถบอกได้ถึงอาการที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน หรืออาจจะตัดปัญหาให้แคบลง เพื่อเช็คในจุดอื่นต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ยางระเบิดขณะขับรถ


เครื่องยนต์ 1JZ เป็นที่รู้กันอยู่ ในหมู่นักซิ่งว่าเครื่องมันแรง เมื่อนำมาวางเครื่องในบ้านเราแล้ว ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการขับขึ่ด้วย โดยเฉพาะเกี่ยวกับช่วงล่าง อย่างล้อกับยางเป็นต้น เมื่อยางรถระเบิดขณะในขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
2. ถอนคันเร่งออก
3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจมองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะว่า จะทำให้รถหมุน
5. ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัวและจะทำให้บังคับรถได้ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลักเพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ ให้ขาดจากเพลา
6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด จะทำให้รถหมุน
7. เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
8. เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ

ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตามเมื่อระเบิดด้านซ้าย รถก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อน แล้วก็จะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอีกที สลับกันไปมา และในทำนอง ตรงกันข้ามหากระเบิดด้านขวาอาการก็จะ กลับเป็นตรงกันข้ามอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือหากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิด ขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้

ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้
เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น ในขณะขับรถ จึงไม่ควรขับรถเร็ว
( ความเร็วทีถือว่าปลอดภัยใน DEFENSIVE DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง)
_________________

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มิเตอร์วัดอุณหภูมิเครื่องยนต์

โดยปกติทั่วไป รถยนต์ทุกคันจะมีเกจ์วัดอุณหภูมิ (Water Temp Meter) แบบมาตราฐานมาให้แล้ว แต่มันสามารถวัดอุณหภูมิได้แบบหยาบๆ ไม่ละเอียด แต่ก็ใช้งานได้ดีในรถสภาพเดิมๆที่ออกจากโรงงาน ซึ่งไม่มีความร้อนของเครื่องยนต์ที่แปรปรวนมากนัก

แต่ในเมื่อเครื่องยนต์อย่าง 1JZ GTE ที่มี Turbo และมีการ Modify หรือปรับบูสต์เพิ่มขึ้นนั้น ย่อมมีความร้อนเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ฉนั้นเพื่อความปลอดภัยในการดูแลรักษาเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะเรื่องความร้อนต้องมีการเพิ่มมิเตอร์วัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ชนิดละเอียด บอกอุณหภูมิเป็นตัวเลขว่าค่าความร้อนขึ้นที่กี่องศา

ตามหลักการทั่วไปแล้วอุณหภูมิของเครื่องยนต์จะอยู่ที่ประมาณ 90-100 องศาเซลเซียส โดยตัวเซ็นเซอร์จะติดตั้งอยู่ที่ท่อน้ำ ที่ออกจากตัวเครื่อง และต้องควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 120 องศาเซลเซียส หากขับขี่รถอยู่ ควรจอดเพื่อให้อุณหภูมิลดลงก่อนแล้วค่อยวิ่งไปให้ช่างผู้ชำนาญแก้ไขต่อไป เช่นต้องเพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น หรือหาวิธีที่ให้ลมผ่านเข้ามาในห้องเครื่องให้ได้มากที่สุด เท่าที่ทำได้ เพื่อช่วยระบายความร้อนได้อีกทางหนึ่ง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กรองอากาศเปลีอยยอดนิยมเครื่องยนต์ 1JZ

รถที่นำมาวางเครื่องยนต์ 1JZ ในบ้านเรานั้น ส่วนมากจะเปลี่ยนชุดกรองอากาศเป็นชนิดเปลือยกันแทบทั้งนั้น ซึ่งเป็นที่นิยมกัน นอกจากทำให้ดูสวยงาม ประหยัดน้ำมันและไม่ต้องเปลียนกรองอากาศบ่อยๆแล้ว ยังเพิ่มแรงม้าให้กับรถด้วยถ้าติดตั้งอย่างถูวิธี โดยต้องเลือกให้เหมาะกับเครื่องยนต์ของเรา รวมถึงตำแหน่งการติดตั้งและการบำรุงรักษา ในบ้านเรามีให้เลือกใช้กันมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งแท้และเทียม เช่น HKS, Blitz, Sard, Apex และ K&N เป็นต้น

หน้าที่หลักของกรองอากาศก็คือทำหน้าที่ดักฝุ่นละอองต่างๆ หรือเศษหิน ดิน ทราย ไม่ให้ปะปนไปกับอากาศ ซึ่งถ้าหลุดเข้าไปเยอะจะทำให้อุปกรณ์ภายในเครื่องยนต์เสียหายได้ เช่นใบพัดหน้าเทอร์โบ ลิ้นปีกผีเสื้อ เป็นต้น หรือฝุ่นละอองที่เข้าไปห้องเผาไหม้ จะไปปนกับน้ำมันเครื่อง จะทำลายชิ้นส่วนที่น้ำมันเครื่องเข้าไปหล่อลื่นได้

สรุปง่ายๆว่าเครื่องยนต์ 1JZ ที่มีเทอร์โบ จะใช้ได้ผลดีกับกรองอากาศแบบเปลือย โดยเฉพาะที่มีการปรับบูสต์เพิ่มเติม เพราะเครื่องยนต์ต้องการอากาศเพิ่มขึ้นและการไหลเวียนอากาศที่ดีขึ้น และที่สำคัญคือจะต้องรับอากาศที่เย็นด้วย จึงจะเป็นผลดีกับเครื่องยนต์ที่สุด

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Turbo Boost Guage 1JZ GTE

การติดตั้งมิเตอร์วัดแรงดันบูสต์เทอร์โบ (Turbo Boost Guage) นั้น หน้าที่ของมันคือแสดงผลค่าสูญญากาศที่เครื่องยนต์ดูด มีค่า 0-30 นิ้ว-ปรอท (in-hg) หรือบางตัวอาจจะเป็น 0-760 มิลลิเมตร-ปรอท และแสดงค่าแรงดันอากาศที่อัดมาจาก Turbo เข้าท่อไอดี แรงดันเป็นปอนด์-ตารางนิ้ว (psi) บางตัวอาจเป็นบาร์

ถ้ายังไม่ได้ติดเครื่องยนต์ เข็มมิเตอร์จะอยู่ที่ 0 เมื่อ Start เครื่องยนต์ แล้วเดินเบาในรอบ 500-800 RPM เข็มจะชี้ประมาณ -20 นิ้ว-ปรอท หากเราขับแบบปกติเข็มจะสวิงอยู่ต่ำกว่า 0 เมื่อเราขับด้วยความเร็วหรือ kikdown เข็มจะขึ้นไปเกิน 0 บอกแรงดันบูสต์เป็นปอนด์-ตารางนิ้ว(psi) ซึ่งเครื่ิองเดิมๆ จะขึ้นไม่เกิน 0.7 psi โดยมิเตอร์บางรุ่นจะมีหน่วยเป็นบาร์ (1 bar=14.504 psi)

เราสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง ขั้นตอนไม่ยุ่งยากอะไร ถ้ามีตัวบูสต์เซนเซอร์ จะมีสายไฟที่่ตัวมิเตอร์ 4 เส้น คือไฟเลี้ยง 12 Volt , Ground , ไฟหรี่ , จากบูสต์เซนเซอร์อีกเส้น ส่วนที่ตัวบูสต์เซนเซอร์จะมีสายไฟ 3เส้น คือไฟเลี้ยง 12 Volt , Ground , สายสัญญาณอีกเส้น โดยจะมีจุดต่อท่อยางเพื่อรับแรงดันอากาศจากท่อไอดี หากมิเตอร์ชนิดไม่มีเซนเซอร์แยก จะลากสายยางจากไอดีมาต่อตรงมิเตอร์เลย

ปัจจุบันมิเตอร์วัดแรงดันบูสต์เทอร์โบ มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ หลากหลายสีสัน หลากหลายราคา ก็เลือกใช้กันได้ตามใจ เมื่อใช้งานก็มองๆมันนิดหน่อยก็พอ ในช่วงติดบูสต์รถจะเร็วและแรงมาก ก็ต้องมองถนนหนทางด้วย

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบระบายความร้อนเครื่องยนต์ JZ

การวางเครื่องยนต์ใหม่ เครื่องยนต์ JZ นั้น ปัญหาความร้อนของเครื่องจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จากการสันดาปเชื้อเพลิงภายในห้องเผาไหม้ แล้วค่อยแปรเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกลเพื่อใช้ขับเคลื่อนอีกทีนั้น หากไม่เตรียมระบบระบายความร้อนของหม้อน้ำรถยนต์ให้ดีพอ เนื่องจากเครื่องยนต์ JZ มีความร้อนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องยนต์ที่มี Turbo ด้วยแล้ว จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกัน

บางคนนิยมใช้พัดลมไฮดรอลิค (Machanical Fan) เป็นตัวระบายความร้อนของหม้อน้ำ ทำงานแบบแปรผัน เพิ่มความแรงขึ้นตามความร้อน หรืออีกแบบก็เป็นพัดลมไฟฟ้า (Electric Fan) นิยมติดตั้งไว้ 2 ตัว ตัวแรกจะทำงานเลยเมื่อเราบิด Sw. กุญแจ ส่วนอีกตัวจะทำงานตามเซ็นเซอร์จากเทอร์โม ส่วนชนิดฟรีปั๊มต้องใช้พื้นที่พอควร เพราะใบของพัดลมที่ติดมากับเครื่องจะค่อนข้างหนา โดยชนิดของหม้อน้ำก็นิยมเปลี่ยนมาใช้แบบอลูมิเนียม สามารถปรับแต่งให้ดูสวยงาม เข้ารูปทรงของ Body รถแต่ละคันได้ดี ส่วนใครจะเลือกแบบไหนก็ให้ดู Body รถของตัวเองก่อน ว่ามีพื้นที่พอเพียงที่จะวางอุปกรณ์นั้นๆลงไป

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1JZ GTE ติดแก๊ส เทอร์โบจะพังเร็วขึ้นหรือไม่


เครื่องยนต์ 1JZ GTE มีคำถามว่าหากนำไปติดแก๊ส จะทำให้ Turbo พัง เร็วขึ้นจากเดิมหรือไม่ เพราะแก๊สจะมีความร้อนมากกว่าการใช้น้ำมัน นั้น

ได้คำตอบมาจากคุณชายต้นว่า ตัวเทอร์โบ รวมถึงโข่งหลัง อุปกรณ์ทุกชิ้น ว้สดุที่ทำออกแบบมาให้ทนกับความร้อนอยู่แล้ว ส่วนแกน Turbo ก็มีระบบน้ำมันเครื่องระบายความร้อนอยู่แล้ว ที่ชำรุดเสียหายมาจากอายุการใช้งานมากกว่า

ส่วนความร้อนของระบบแก๊สนั้นมีมากกว่าน้ำมันก็จริง แต่ร้อนไม่เกิน 10% ของระบบน้ำมัน สังเกตุได้จากเกจ์วัดความร้อน ที่ร้อนผิดปกติมาจากการจูน อาจจะบางในรอบปลาย ทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้น

และที่สงสัยว่าขี้แก๊สทำให้แกน Turbo สกปรกจนทำให้แกน Turbo ฝืด แกนติดหมุนไม่ดีนั้น ขี้แก๊สจะอยู่ที่ในระบบหม้อต้ม ตรงหม้อต้มจะมีตัวถ่ายทิ้งอยู่ ควรถ่ายทุกๆเดือน ส่วนคราบที่ติดที่แกน Turbo น่าจะมาจากคราบน้ำมันเครื่องที่สกปรก อาจจะผสมแก๊ส พอเข้าห้องเครื่องเผาไหม้ก็กลายเป็นไอเสีย

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1JZ GTE วิ่งกดแช่ยาวๆได้หรือไม่

เครื่องยนต์ 1JZ GTE เราสามารถวิ่งแบบกดแช่ยาวๆ ความเร็วๆ 160 km ขึ้นไป ในระยะทางไกลจะได้หรือไม่ คำตอบคือวิ่งได้แน่นอน เพราะเครื่องเดิมๆที่ออกจากโรงงาน มันต้องวิ่งได้อยู่แล้ว ส่วนการนำเครื่องมาวางในบ้านเรานั้น เครื่องยนต์จะต้อง Standard อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ หม้อน้ำต้องระบายความร้อนได้ดี หากนำเครื่องมาขึ้นเป็น Turboเดี่ยว อันนี้คงจะยาก เพราะการทำงานของเครื่องจะหนักขึ้น ความร้อนคงสูงแน่นอน

การวิ่งรถเครื่องยนต์ 1JZ GTE แช่ในความเร็วสูงนานๆ นั้น Boost จะไม่สูงแน่นอน ในตอนแรกที่ Boost พอหมด Load มันจะกลับมาอยู่ในสภาวะ Vacuum ฉนั้นจึงไม่น่าเป็นห่วงหากใช้ความเร็วคงที่ หรือบูชบ้างในบางครั้ง หากต้องการแซง

ถ้าจำเป็นต้องวิ่งแช่กันยาวๆจริง ก็ให้ดูสภาพถนนที่ดีๆหน่อย รถโล่งๆ และควรเติมลมยางมากขึ้นอีกจากเดิมซัก 2-3 ปอนด์/ตารางนิ้ว ทีนี้สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นคือการบริโภคน้ำมัน จะมากกว่าปกติเป็นที่แน่นอน ในความเร็วระดับ 160 km ขึ้นไป หากกดแช่กันเป็นเวลานานๆ

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1JZ GTE บูชมาช้า

ปัญหาของเครื่องยนต์ 1JZ GTE อีกอาการที่เจอคือบูชมาช้าและมีเสียงลมบริเวณ Turbo อาการนี้อาจจะมาจากหลายสาเหตุ แต่จะบอกเล่าตามปัญหาที่เจอแล้วกัน

จากสาเหตุนี้ ตรวจสอบพบว่าเมื่อเวลาวิ่งที่ความเร็วรอบ 2000 ขึ้นไปแล้ว ดูเกจ์วัดบูชอยู่ที่เกือบๆศูนย์ จะมีเสียงลมซ่าๆ บริเวณแถวๆ Turbo และลอง kikdown ดู ปรากฎว่าบูชกว่าจะมาช้าผิดปกติไป แต่ยังบูชได้อยู่ ผลปรากฏว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากตาน้ำของ Blowoff เดิม ที่ถูกถอดออกไปแล้ว ด้านหนึ่งจะถูกปิดไว้ด้วยแผ่นอลูมิเนียมหนา ส่วนอีกด้านจะเป็นท่อยาง ซึ่งได้ทำการปิดรูของท่อยางไว้ด้วย ตาน้ำฝากลมๆ คล้ายๆฝายาหม่องที่เขาเรียกกัน นั้นได้หลุดออกไป จนทำให้มีเสียงลม ที่มาจากท่อไอดี พ่นลมออกมาทางท่อยางนี้ด้วย

สรุปว่าพวกอุปกรณ์ภายในห้องเครื่อง ของเครื่องยนต์ 1JZ GTE นั้น จะมีอุปกรณ์ที่ใช้แคล้มรัดสายไว้เป็นจำนวนมาก จึงต้องหมั่นตรวจสอบอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ไขควงหมุนดูบ้างจะได้ไม่เกิดปัญาในระหว่างการขับขี่

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ 1JZ


การแจ้งเปลี่ยนเครื่องยนต์ 1JZ นั้น ถ้าเป็นรุ่น N/a อาจจะทำได้ง่ายหน่อยแต่ถ้าเป็นรุ่น Turbo นั้น คงจะยากนิดหนึ่ง หากเครื่องยนต์มีการ Modify เยอะ เคยไปแจ้ง 1JZ GE มาครั้งหนึ่งที่ขนส่งหมอชิตเก่า ขั้นตอนก็ไม่ยากเย็นอะไรมาก ลองดูตามขั้นตอนดังนี้

1.แจ้งตัดบัญขีเครื่องยนต์ ที่อาคาร2 ชั้น4 ยื่นเรื่องช่องที่3
2.ไปตรวจสภาพรถ ที่อาคาร4 ยื่นเอกสารแล้วขับรถเข้าช่องตรวจ
4.รับเอกสารคืนที่ช่อง8 อาคาร4
3.กลับไปติดต่อ ที่อาคาร2 ชั้น3 ตรงประชาสัมพันธ์ แล้วรอยื่นเอกสารช่อง13
4.รอรับเล่มคืน

ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 105 บาท
ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมไป
-สำเนาทะเบียนบ้าน
-สำเนาบัตรประชาชน
-ใบอินวอย
-ใบเสร็จค่าเครื่องยนต์

จากนี้ เราก็ได้เล่มทะเบียนที่ถูกต้องตามกฏหมาย จะได้ใช้งานเครื่องยนต์ 1JZ อย่างสบายใจไม่ต้องกลัวด่านตรวจอีกต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 1JZ


การใช้น้ำมันเครื่อง ของเครื่องยนต์ 1JZ นั้น สามารถใช้น้ำมันเครื่องประเภทธรรมดา น้ำมันเครื่องประเภทกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องประเภทสังเคราะห์100% ได้ทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะใช้งานรถในแบบไหน ถ้าขับธรรมดาทั่วๆไปก็ใช้แบบธรรมดาก็ได้ ถ้าใช้ความเร็วรอบจัดๆ ก็แบบสังเคราะห์100%ไปเลย แต่ถ้าเรามีงบประมาณสูง อาจจะใช้แบบสังเคราะห์100% ทุกแบบการขับขี่ก็จะมีผลดีต่อเครื่องยนต์ 1JZ อย่างแน่นอน เกรดตัวเลขก็เช่น 0w-40, 5w-50 เป็นต้น

น้ำมันเครื่องประเภทธรรมดาก็ใช้ประมาณ 5000 km
น้ำมันเครื่องประเภทกึ่งสังเคราะห์ก็ใช้ประมาณ 8000 km
น้ำมันเครื่องประเภทสังเคราะห์100%ก็ใช้ประมาณ 10000 km

ในส่วนของยี่ห้อของน้ำมันเครื่องก็เลือกได้ มีหลากหลายราคา เกรดดีๆ เกรดเมืองนอก ก็จะแพงหน่อย และควรเลือกที่มีสถาบัน API รับรองด้วย

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เบอร์กล่อง ECU เครื่องยนต์ 1JZ

กล่อง ECU (Engine Control Unit) ที่ติดมากับเครื่องยนต์ JZ ทุกๆเครื่อง สามารถบอกได้ว่า มันมาจาก Body เดิม ของรุ่นไหน โดยดูที่เบอร์ของกล่องที่สติ๊กเกอร์ที่แปะไว้ด้านนอกกล่องได้เลย

1JZ MARK II JZX100 A/T 89661-22740
1JZ-FSE GX110 89661-2A11U
1JZ-G CROWN JZS141 A/T 89661-30830
1JZ-GE 88650-22591/177300-1620
1JZ-GE 89661-22520
1JZ-GE JZS141 A/T 89661-30830
1JZ-GE JZX100 A/T 89661-22740
1JZ-GE JZX81 89661-22380
1JZ-GE CHASER JZX100 89541-22180
1JZ-GE CHASER JZX90
1JZ-GE CRESTA JZX100 A/T 89661-22500
1JZ-GE CRESTA JZX100 A/T 89661-22740
1JZ-GE CROWN JZS141 A/T 89661-30620
1JZ-GE CROWN JZS141 A/T 89661-30830
1JZ-GE CROWN JZS151 A/T 89661-3A210
1JZ-GE MARK II JZX90 89661-22520
1JZ-GE VVTi CHASER JZX100 89661-22760
1JZ-GTE A/T 89661-22470
1JZ-GTE JZX81 A/T 89661-22400
1JZ-GTE JZZ30 A/T
1JZ-GTE MARK II JZX90 A/T 89661-22470
1JZGE(TCR) JZX-90 ДВ 89661-22520
1JZGTE CHASER JCZX90 ДВ 89661-22610/175700-6441

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

EXT (Exhaust Gas Temperature)

Exhaust Gas Temperature Sensor (Ext) ใช้ตรวจจับอุณหภูมิก๊าซไอเสีย เซ็นเซอรตัวนี้จะต่ออยู่กับขั้ว THG ของ ECU จุดประสงค์เพื่อลดปริมาณไนโตรเจนออกไซค์ (NOx) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เนืองจากที่ความร้อนสูงปริมาณของ NOx จะมีความหนาแน่นสูงเมื่ออุณหภูมิในการเผาไหม้สูงเกิน 2500 องศาฟาเรนไฮต์ โดยดักเอาไอเสียส่วนหนึ่งย้อนกลับไปผสมกับไอดี(ส่วนผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง) เพื่อให้ไอดีเจือจางลง เพื่อส่งเข้าห้องเผาไหม้อีกครั้ง ซึ่งจะทำให้ความร้อนสูงสุดในห้องเผาไหม้ลดลง ความดันลดลง และปริมาณ NOx ลดลง

สำหรับเครื่อง JZ ทีมี Turbo ควรจะติด
1.ถ้าความร้อนที่ขึ้นบนหน้าปัดติดรถ
2.EX.Temp ไม่ขึ้น แสดงว่าหม้อน้ำมีปัญหา (ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ)

ในทางกลับกัน
1.ความร้อนหน้าปัดไม่ขึ้น
2.EX.Temp ขึ้น Turbo ใบหลังเล็กไประบายไอเสียไม่ทันหรือน้ำมันไม่พอ

สรุปว่า Ext เป็นตัววัดอุณหภูมิไอเสียว่าร้อนเท่าไหร่ โดยปกติเครื่องยนต์ JZ ที่มี Turbo เค้ามักจะติดกัน เป็นเหมือน Gauge ตัวหนึ่งเหมือนกับ Oil Pressure, Boost Gauge หากอัดกันยาวๆ Exhaust Temp มันขึ้น ถ้าเกินมาตราฐาน ก็จะได้รู้ก่อนอุปกรณ์จะเสียหาย

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

1JZ GTE แบคไฟร์ (BACK FIRE)

เครื่องยนต์ 1JZ GTE Auto ติดตั้งแก๊ส Mixer ระบบดูด ในช่วงที่ Kik Down ทำให้เกิดอาการแบคไฟร์ได้ อาการที่เจอคือยางท่ออินเตอร์ด้านหน้าหลุด ทำให้กำลังรถยนต์ตก วิ่งไม่ออก มีดูว่าอาการแบคไฟร์นั้นเกิดจากอะไร

แบคไฟร์เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงภายนอกกระบอกสูบ พบได้ส่วนมากกับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดแก๊สเป็นส่วนมาก หรือแม้นแต่น้ำมันก็เกิดได้เช่นกันแต่อาจจะน้อยกว่าระบบแก๊ส อาการเบื้องต้นจะมีการระเบิดย้อนภายในท่อร่วมไอดี อาจทำให้ระบบควบคุมประจุไอดีชำรุดได้ เช่น Air Flow หรือลิ้นปีกผีเสื้อ

องค์ประกอบการแบคไฟร์คือระบบเชื้อเพลิงกับอากาศ ซึ่งจะผสมกันบางจนเกินไป ทำให้เชื้อเพลิงที่ค้างในท่อร่วมไอดีเกิดการเผาไหม้ขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ในระบบแก๊สมาจากรู Mixer ที่ไม่สัมพันธ์กัน หรือหม้อต้ม และหัวเทียนก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแบคไฟร์ได้เช่นกัน

ฉะนั้นระบบแก๊สที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ 1JZ GTE นั้น คงจะเป็นแก๊สระบบหัวฉีด น่าจะลงตัวที่สุด