วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เรกกูเรเตอร์

เรกกูเรเตอร์กับ1JZ GTE

เรกกูเรเตอร์
หรือ ตัวควบคุมแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบเชื้อเพลิง โดยมีหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันที่ดูดมาจากถังน้ำมัน ปั้มน้ำมันหรือปั้มติ๊ก แล้วถูกส่งไปยังท่อน้ำมัน แล้วผ่านระบบกรองน้ำมันหรือ กรองเบนซิล จึงไหลเข้าสู่รางหัวฉีดแล้วจึงจะไหลผ่านเจ้า เรคกูเรเตอร์ก่อนไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับ หน้าที่การทำงานด้วยสุญญากาศ เรคกูเรเตอร์ จะทำงานร่วมกับระบบสุญญากาศ โดยสังเกตุเห็นว่าบนหัวของเรคกูเรเตอร์ทุกตัว จะมีท่อสูญญากาศเล็กๆเพื่อต่อกับท่อร่วมไอดีด้านหลัง ลิ้นปีกผีเสื้อ ดังนั้นเมื่อเหยียบคันเร่งน้อยเเรงดูดจากเครื่องจะมากอากาศไหลผ่านลิ้นน้อย สูญญากาศก็เกิดมาก เมื่อเหยียบคันเร่งมากอากาศไหลผ่านลิ้นมากสูญญากาศก็ เกิดน้อยแรงดูดตัวนี้หละที่จะคอยควบคุมให้เรกกูเรเตอร์ทำงานเ พื่อควบคุมเเรงดันน้ำมันให้คงที่ไม่ว่าจะลิ้นปีกผีเสี้อจะเปิดมากหรือเปิดน้อยก็ตามที เริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ก่อนสตาร์ทเครื่อง เมื่อเราเปิดสวิทย์กุญแจ ปั้มน้ำมันเชื้อเผลิงจะทำงานแรงดันน้ำมันจะสูงมาก เพราะเครื่องยังไม่ติด ไม่มีแรงดูดสุญญากาศเเละเมื่อเราเริ่มสตาร์ทเครื่องจะทำให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันมากทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดง่าย เมื่อเครื่องติดแล้วในรอบเดินเบาเครื่องยนต์ต้องการน้ำมันน้อย เรกกูเรเตอร์จะเปิดน้ำมันให้ไหลกลับสู่ถัง ไหลกลับมาก เพื่อให้ประหยัดน้ำมัน
เมื่อเริ่มต้นเหยียบคันเร่ง
เครื่องยนต์จะต้องการปริมาณน้ำมันเเพิ่มขึ้นตามความต้องการของเครื่องยนต์ ที่ต้องการเร่งรอบให้สูงขึ้นโดยรับข้อมูลมาจากเซนเซอร์ต่างๆเช่นairfrowmeter,totelsensor,vaccumesensor,และเซนเซอร์รอบเครื่องยนต์โดยทั้งหมดนี้จะส่งข้อมูลไปยังกล่อง ECU โดยกล่อง ECUจะไปสั่งให้หัวฉีด ฉีดน้ำมันถี่ขึ้นเพื่อเร่งรอบเครื่องยนต ์ ปริมาณการใช้น้ำมันสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้แรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดตกลง ก็เจ้าเรกกูเรเตอร์นี่แหละที่จะคอยควบคุม ให้แรงดันน้ำมันเพิ่มขึ้นโดยทำการปิดน้ำมันไหลกลับสู่ถังน้ำมันไหลกลับน้อยลง ทฤษฎี แรงดันน้ำมันในรางหัวฉีดจะอยู่ที่ 2.5-3.3 bar หรือ 36-48 ปอนด์ แล้วแต่ spec ของเครื่องแต่ละยี่ห้อเช่น Toyota จะกำหนดไว้ที่ 2.7 bar Mitsubishi จะกำหนดไว้ที่ 3.3 bar และ Nissan,Honda จะกำหนดไว้ที่ 2.5 bar เพื่อให้ส่วนผสมของอากาศ และน้ำมันในการเผาไหม้อยู่ที่ 14.7-15 : 1 คือ อากาศ 14.7-15 ต่อน้ำมัน 1 ส่วน จึงจะถือว่าการเผาไหม้สมบูรณ์ที่สุด ดั้งนั้นเรคกูเรเตอร์ต้องทำหน้าที่รักษาแรงดันน้ำมัน ให้สอดคล้องกับปริมาณการฉีดน้ำมันของหัวฉีดในแต่ละรอบความเร็ว

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

LSPV


Toyota Mighty X กระบะยอดนิยมอีกรุ่นหนึ่ง ที่นำมาตกแต่งหรือวางเครื่อง 1JZ GTE นั้น มีมากมายเหลือเกิน ซึ่งดูแล้วลงตัวอย่างดี และได้ตระกูลเดียวกันด้วย

ปัญหาอย่างหนึ่งของรถกระบะ Toyota Mighty X รุ่นแรกๆก็คือระบบเบรค ซึ่งจะออกอาการรถปัดซ้าย ขวา เป็นประจำหากถูกเบรคอย่างรุนแรงและกระทันหัน แต่ต่อมาในรุ่นหลังๆ เริ่มพัฒนาขึ้น โดยมีระบบ LSPV (Load Sensing Proportioning Valve)เข้ามาเพิ่ม มันคือกลไกควบคุมวาล์วแรงดันน้ำมันเบรคหลังแบบง่ายๆ โดยใช้คานงัดวัดระยะระหว่างเพลากับพื้นกระบะที่ผกผันตามน้ำหนักบรรทุก เมื่อรถไม่ได้บรรทุก ค่าระยะห่างระหว่างเพลาเป็นค่ามาตรฐานซึ่งตั้งไว้ให้เปิดวาล์ว LSPV ที่ค่าหนึ่ง ซึ่งจะหยุดล้อเพื่อให้สัมพันธ์กับล้อหน้า ประสิทธิภาพในการเบรคจึงสูงสุดตามค่ามาตรฐานในการออกแบบรถรุ่นนั้นๆ แต่ถ้าน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้นเมื่อใด ถ้าค่าแรงดันน้ำมันเบรคยังเท่าเดิมกับตอนไม่บรรทุก รถก็จะเบรคไม่อยู่ตามค่าแรงเฉื่อยที่ผกผันตามน้ำหนักบรรทุก ดังนั้น LSPV จึงถือกำเนิดขึ้นมา เมื่อน้ำหนักบรรทุกมากขึ้นกระบะถูกกดต่ำลงมาคานงัดก็จะไปเปิดวาล์วน้ำมันให้ เพิ่มแรงดันมากขึ้นเวลาเหยียบแป้นเบรค ล้อหลังก็จะหยุดได้ตามค่ามาตรฐานที่ควรเป็นสัมพันธ์กับล้อหน้า รถหยุดได้ดีขึ้น

Toyota Mighty X ที่นำมาวางเครื่อง 1JZ GTE แล้วนั้น ส่วนมากหากว่า ระบบ LSPV ชำรุดมีน้ำมันรั่วซึม จะนิยมถอดทิ้งไปเลยแล้วใช้วิธีจั๊มสายตรงไปเลย

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

น้ำมันเกียร์ 1JZ GTE


การเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้ได้ระดับที่เหมาะสมควรจะ เช็คหลังจากเครื่องร้อน (รถต้องได้ระดับไม่เอียงนะครับและเลื่อนคันเกียร์ให้ ครบทุกเกียร์ก่อนวัดได้ยิ่งดี) ระดับน้ำมันเกียร์บนก้านวัดควรจะอยู่ระหว่างขีด 2 ขีดในช่วง Hot (อย่าลืมเช็ดน้ำมันออกจากก้านวัดก่อนครั้งแรกแล้วเสียบก้านวันเข้าที่ให้สุดแล้วดึงออกมาใหม่)

บางคนสงสัยว่าช่วงขีดระดับ Cool เอาไว้ทำอะไร... มันเอาไว้แค่กะปริมาณน้ำมันเกียร์ที่เติมไปตอนเครื่องเย็นเท่านั้น หมายความว่าเมื่อเครื่องเย็นเวลาเติมน้ำมันเกียร์ เมื่อมีการถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่หรือด้วยเหตุผลใดก็ตา ม ควรเติมน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในช่วง Cool แล้วก็เช็คอีกทีเวลาเครื่องร้อนดูว่าขาดหรือเกินหรือไม่

ส่วนเครื่อง 1JZ GTE เกียร์ออโต้ รหัส E8 ถ่ายทอร์คคอนเวอรเตอร์ด้วย ใช้น้ำมันเกียร์แค่ประม าณ 5.5 ลิตรเอง

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วางเครื่องยนต์ JZ

ในการวางเครื่องยนต์ 1JZ ควรหาอู่ที่พร้อมในการทำทุกอย่าง ฉนั้นมาดูกันว่าเวลาที่จะวางเครื่อง อู่ควรจะต้องทำอะไรให้เราบ้าง

- วางเครื่อง+ทำแท่นเครื่อง+แท่นเกียร์
- ตัดต่อ+ถ่วงเพลากลาง
- Wiring ระบบไฟ รวมถึงหน้าปัทม์ และแป้นเกียร์ทั้งหมด
- ระบบระบายความร้อน พวกพัดลม หม้อน้ำ ท่อน้ำ
- ระบบเบรค หม้อลม ดิสค์
- ระบบไอเสีย ท่อไอเสีย หม้อพัก
- กรองอากาศ กรองเปลือยต่างๆ
- ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ปั๊มติ๊ก
- ระบบปรับอากาศ
- ถ้าเป็นรถเทอร์โบ ก็จะมีเรื่อง อินเตอร์คูลเลอร์ และท่ออินเตอร์
- สายพานต่างๆ ถ้าหมดสภาพก็ควรเปลี่ยนใหม่ซะเลย
- ระบบของเหลวทั้งหมด น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย

ในเบื้องต้นของการตกลงกัน อู่ที่วางเครื่องควรจะทำครอบคลุมสิ่งต่างๆที่กล่าวมา นี้ให้เกือบทั้งหมด
ส่วนที่เหลือนอกจากนี้ ที่เราต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมก็แล้วแต่ตกลง กันอีกที เช่น
- เปลี่ยนเฟืองท้าย
- เปลี่ยนชุดเบรก ล้อ ดุม ดิสค์
- ท่ออินเตอร์อลูมิเนียมดัดทราย
- ท่อไอเสีย หม้อพักแสตนเลส
- ปัดเงา + ชุบโครเมี่ยมชิ้นส่วนต่างๆ

ถ้าทุกอย่างพร้อมทำในที่เดียวกัน มันก็สะดวก โดยไม่ต้องย้ายไปเก็บงานที่อื่นอีก เรียกว่า One Stop Service

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Oxygen Sensor


เซนเซอร์อีกตัวหนึ่งของเครื่องยนต์ 1JZ GTE คือ Oxygen Sensor หรือ Lambda Sensor (เซนเซอร์ตรวจจับปริมาณออกซิเจนในก๊าซไอเสีย) มีรูปทรงคล้ายกับหัวเทียน ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในก๊าซไอเสียแล้วส่งสัญญาณกลับไปให้ ECU เพื่อให้ ECU รู้สภาวะอัตราส่วนผสมน้ำมันกับอากาศ ( Air / Fuel Ratio ) ว่าหนาหรือบางเกินไปหรือไม่ เพื่อควบคุมอัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม และทำให้แคตตาไลท์ติคคอนเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ในขณะที่ส่วนผสมบาง ปริมาณออกซิเจนในไอเสียจะมีมาก ตัวออกซิเจนเซนเซอร์จะส่งแรงดันไฟฟ้าต่ำไปให้ ECU ในขณะที่ส่วนผสมหนา ปริมาณออกซิเจนในก๊าซไอเสียจะมีค่าน้อย ตัวออกซิเจนเซนเซอร์จะส่งแรงดันไฟฟ้าสูงไปให้ ECU ตัว Oxygen Sensor ถูกติดตั้งไว้ที่ท่อร่วมไอเสีย

Oxygen Sensor แบ่งเป็นสองแบบคือ
1.แบบเซอร์โคเนีย (Zirconia Type)
2.แบบไททาเนีย (Titania Type)

ระบบ ECU จะทำงานโดยไม่คำนึงถึงสัญญาณที่ส่งจากออกซิเจนเซนเซอร์ในสภาวะแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. เมื่อออกซิเจนเซนเซอร์เสีย
2. เมื่ออุณหภูมิในน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 66’C
3. เมื่ออุณหภูมิออกซิเจนเซนเซอร์ต่ำกว่า 343’C
4.เมื่อสุญญากาศในท่อร่วมไอดีมีค่าใกล้เคียงกับความดันบรรยากาศ
5.สตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะเครื่องยนต์ร้อน

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Ground Wire


สายดิน (Ground Wire) ในรถยนต์นั้น ปกติแล้วจะมีมาให้แล้วจากโรงงานที่ผลิตรถยนต์ แต่ในบางครั้งระบบไฟอาจไหลเวียนไม่ดี เนื่องจากมีการเพิ่มเติมระบบไฟอย่างอื่นขึ้นอีกเช่นเครื่องเสียง เป็นต้น และเครื่องยนต์ 1JZ จำเป็นต้องเดิน Ground เพิ่มเพื่อให้ระบบไฟดีขึ้น

จุดสำคัญที่ต้องเดิน Ground เพิ่มให้เครื่องยนต์ 1JZ มีดังนี้
1. ท่อไอดี (Intake Manifold)
2. ตัวถังเครื่องยนต์ (Engine Block)
3. ระบบไฟหน้าทั้งหมด (Head Lamp)
4. ฝาวาล์ว (Cylinder Head)
5. ไดชาร์จ (Alternator)
6. เกียร์ (Transmission)


ประโยชน์ของ Ground Wire ที่ดีจะช่วยให้
- ลดกระแสไฟฟ้าสถิตภายในตัวถังรถ
- ระบบไฟฟ้าเดินได้เต็ม 100%
- ลากรอบเกียร์ได้ยาวกว่าเดิม
- คุณภาพเสียงของเครื่องเสียงดีขึ้น
- ประหยัดน้ำมัน
- ช่วยระบบแอร์และคอมแอร์ทำงานดีขึ้น
- ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆภายในรถ
- ติดตั้งได้กับรถทุกชนิดทั้งเกียร์ธรรมดาและเกียร์ออโตเมติก

คุณสมบัติของสายที่นำมาทำ Ground Wire นั้น ต้องมีความต้านทานต่ำถึงจึงจะเป็นตัวนำที่ดีที่สูด โดยที่เงินเป็นตัวนำที่ดีที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กฏหมายท่อไอเสียรถยนต์


เครื่องยนต์ 1JZ ที่นำมาวางใน Body รถยนต์บ้านเรานั้น ส่วนมากจะมีการ Modify ท่อไอเสียกันทั้งนั้น เพื่อให้ได้แรงม้าสูงสุด ดังนั้นการ Modify ท่อไอเสียเครื่องยนต์ 1JZ จะมีขนาดท่อที่ใหญ่กว่าปกติและจะมีเสียงดังเป็นส่วนมาก ฉนั้นจึงเป็นที่น่าจับตามองของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฏหมาย

เครื่องยนต์ 1JZ GTE โดยหลักการแล้วขนาดท่อจะใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว ก็ยังไม่ผิดกฏหมายเพียงแต่ว่าด้านปลายท่อจะต้องออกทางด้านหลังของรถเท่านั้น ห้ามออกด้านข้างของตัวถังรถ อันนี้ผิดแน่นอน (โดยมีข้อยกเว้นสำหรับรถพ่วงขนาดใหญ่หรือรถโดยสารบางชนิดเท่านั้น) ส่วนในเรื่องของเสียงดังนั้น ตรวจวัดด้วยเครื่องมือวัดเสียงต้องไม่เกิน 90 db. ที่รอบเครื่องเศษ3ส่วน4ของแรงม้าสูงสุด สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลวัดที่รอบสูงสุด (หากเจอด่านตรวจต้องใช้เครื่องมือวัดเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่ฟังเสียงด้วยหูแล้วเอามาเป็นเกณฑ์ตรวจวัดไม่ได้)

สรุปหากเจอด่านตรวจ ก็ให้คำนึกว่าเราเป็นรถยนต์ดัดแปลงสภาพ ย่อมมีจุดที่ผิดกฏหมายอยู่มากมายแน่นอน จึงต้องหาทางพูดจาดีๆ เอาไว้ก่อน จะได้ผ่านด่านไปอย่างราบรื่น